วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

เปิดตำนานเว็บบอร์ด ไดอาร์ไลน์

การถือกำเนิดของ Weblog / Blog

ก่อนที่บล็อกจะได้รับความนิยมการติดต่อสื่อสารในแบบดิจิตอลก็เกิดขึ้นมาหลายแบบ ทั้ง Use net การติดต่อผ่านบริการออนไลน์ เช่น GEnie, Bix และ CompuServe, การส่งอีเมล์ และ bulletin beard system (BBS) ในปี 1990 บนอินเตอร์เน็ตมีการใช้งานซอร์ฟ ในแบบ forum เช่น WebEx เพื่อสร้างการทำงานแบบสนทนา ที่เรียกกันว่าเทรค

Weblog หรือเวบบล็อก (Web logs หรือ Weblogs) เป็นเวบเพจที่มีหน้าที่คล้ายๆกับไดอารี่หรือสมุดบันทึกประจำวันแบบออนไลน์ โดยผู้ใช้งานสามารถเขียนเรื่องต่างๆ เก็บเอาไว้ในเวบบล็อกซึ่งผู้สร้างสามารถจดจำกลุ่มคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวที่คุณเขียนได้




เอกสารอ้างอิง


ไมโครคอมพิมเตอร์.ซาอิด: /2550.124 หน้า

Twitter: อีกวิวัฒนาการสื่อสารผ่าน Internet

Twitter คืออะไร


เป็นอีกบริการส่งข้อความผ่านเวปไซต์ http://twitter.com เป็นบริการที่รวมเอา Consept ของบริการ Social Networking (แบบ hi5, Facebook) กับการบริการ Micro Blogging (เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog )โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความของตน และอ่านของผู้ใช้อื่นได้ ในรูปแบบของตัวอักษร (Text Base)

บทบาทของ Twitter ในสังคม Internet

Twitter เป็นบริการที่รวมเอา Social Networking และ Micro Blogging เข้าด้วยกัน ทำให้เราเขียนข้อความ (Tweet) ส่งออกไปอาจจะต้องการคนเข้ามาอ่าน หรือไม่ต้องการก็ได้ เช่นเดียวกับ Blog และยังสามารถค้นหาชื่อที่อยู่ผู้ใช้อื่น เพื่อติดตามผู้อื่น (Following) หรือว่าถูกผู้อื่นติดตาม (Follower) ได้ด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับ Social Networking ซึ่งความสะดวกตรงนี้ทำให้เราไม่ต้องมีการสื่อสารจำนวนมาก เช่น (e-mail, ms, chat)ที่เสียเวลามากกว่าและเข้าไม่ถึงเป้าหมายหรือไม่มาติดต่อด้วย





เอกสารอ้างอิง

เจษฎา นรเดชานนท์. เทเลคอมไดเลาท์,2552

SRAN Security Center ในศูนย์เตือนภัย SOC

พืนฐานของการทำงาน SRAN มีดังนี้


1. ระบบเฝ้าระวังภัยคุกคามและสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายภายในและภายนอก แล้วทำการรายงานผล (Intrusion Detecton / Prevention System)

2. ระบบประเมินความเสี่ยงเพื่อตรวจหาจุดเสี่ยง และรายงานผลแนวทางการแก้ไข (Vulueratity Assessment)

3. ระบบตรวงสอบผลเหตุการณ์ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในเครือข่ายคอมพิมเตอร์ (Network Security Compliance)

SRAN เป็นระบบที่สมบูรณ์เหมาะสมกับการสร้าง SOC แบบพอเพียงขึ้นมา ใช้ประโยชน์ในการทำ SOC

1. ประหยัดงบประมาณในการลงทุนเทคโนโลยีอ

2. การประมวลผลสามารถแสดงผ่าน Web Application จะประหยัดแบบแบนวิดได้มากกว่า

3. ภัยคุกคามจากการเเฝ้ระวังผ่าน Web Monitoring มีน้อยกว่าที่ต้องให้ไฟล์วอร์เปิด Port Syslog หรือ Database

4. สะดวกในการบริการทั้งในแง่การติดตัว และการออกแบบ

5. เป็นเทคโนโลยีที่มามารถควบคุมเองได้ สร้างเป็นต้นแบบ สำหรับใช้งานด้านความมั่นคงของชาติ




เอกสารอ้างอิง


ไมโครคอมพิวเตอร์.ซาอิด:2550,101 หน้า

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวโน้มการโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์พกพา

รูปแบบการโฆษณา สามารถแบ่งออกได้เป็น 5รูปแบบ ดังนี้


1. รูปแบบการโฆษณาด้วยระบบการเคลื่อนไหวพร้อมเสียง (Video Advertising)

การโฆษณารูปแบบนี้ ส่วนใหญ่มักจะแสดงให้เห็นก่อนที่จะได้รับชมวีดีโอต่างๆ หรือแสดงความเห็นระหว่างชมวีดีโอ ซึ่งผู้ใช้งานอาจจะถูกบังคับดูโฆษณาจนจบ

2. รูปแบบการโฆษณาผ่าน WAP (Wireless Application Protocol Advertising หรือ WAP Advertising)

WAP เป็นโปรโตคอลมาตราฐานบนการทำงานแบบเครือข่ายไร้สายมีความคล้ายคลึงกับมาตราฐาน HTTP

3. รูปแบบโฆษณาด้วยระบบข้อความ (SMS and MMS Advertising)

การโฆษณารูปแบบนี้เป็นการโฆษณาผ่านระบบข้อความอักษรบนโทรศัพท์มือถือ (Shot Message Service: SMS)

4. รูปแบบโฆษณาบนโปรแกรมที่สามารถ Download ได้ (Download Application)

การ Download โปรแกรมกำลังเป็นที่นิยมในการ Download ซึ่งส่งผลให้ระบบโฆษณาผ่านโปรแกรมเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

5. รูปแบบโฆษณาขายตรงผ่านระบบเสียง (Voice)




เอกสารอ้างอิง

ชุติเดช บุญโถสุมภ์.เทเลคอมไดเจท.2552:หน้า 154

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

VoIP(Voice Internet Protocal) การสื่อสารโดยใช้เสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

VoIP หมายถึง เทคโนโลยีที่รวมการสื่อสารเสียง และสัญญาณข้อมูลเอาไว้ด้วยกัน เพื่อส่งสัญญาณทั้งสองไปบนระบบเครือข่ายด้วย IP (Internet Protocal) หรือหมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารพูดคุยกัน โดยผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ประเภทของ VoIP

รูปแบบที่ 1 จากคอมพิวเตอร์ไปสู่คอมพิวเตอร์ (Pc-to-Pc)วิธีนี้ต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งต้นทางและปลายทาง พร้อมทั้งติดตั้งโปรแกรมตัวเดียวกัน
รูปแบบที่ 2 จากคอมพิวเตอร์ไปสู่โทรศัพท์ (Pc-to-Pnone) เป็นรูปแบบที่ใช้ได้กับผู้ใช้ต้นทางที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมโทรศัพท์ โดยผู้รับปลายทางนั้นใช้เครื่องโทรศัพท์ธรรมดา
รูปแบบที่ 3 จากโทรศัพท์ไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ (Phone-to-Pc) เป็นวิธีที่ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องอาศัยบริการ จากผู้ที่ให้บริการ (Internet Provider) ซึ่งค่าบริการอาจสูงกว่าวิธีอื่นๆ

(SMC Network.2551:70)


เอกสารอ้างอิง
Micro computer.กรุงเทพมหานคร;ซี-เอ็ด,2551

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

IMS(IP Multimedia Subsystem) จุดศูนย์รวมมัลติมิเดียแห่งเครือข่าย

สถาปัตยกรรมของ IMS
สถาปัตยกรรมของ IMS เราจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ

สำหรับระบบ IMS เราสามารถที่จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ก็คือ ส่วนที่เป็น Access Network ซึ่งได้แก่ เครือข่ายที่ยูสเซอร์ใช้งานอยู่ เช่น เครือข่ายที่มีสายโทรศัพท์บ้าน ที่มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน ADSC เครือข่านไร้สายต่างๆ เช่น เครือข่ายไวไฟ และเครือข่ายเคลื่อนที่ในปัจจุบัน อย่างระบบ GSM และระบบ CDMA
ส่วนอีกกลุ่มที่เป็นสถาปัตยกรรมใน IMS ก็คือส่วน Core ของ IMS ซึ่งเป็นส่วนหลักของ IMS และทำหน้าที่ร่วมกันเป็นเครือข่ายหลักในการให้บริการ IP Multimedia ต่างๆ แต่เครือข่ายที่ยูสเซอร์ใช้งานส่วนนี้เราสามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ดังนี้
1. CSCF (Call / Session Control Function)
2. User Database
3. MRF (Media Resource Function)
4. BGCF (Breakout Gateway Control Function)
5. ชุด Media Gateway
6. ส่วน Application Server

หน้าที่ของส่วนย่อยต่างๆ
1. CSCF (Call / Session Control Function)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุม Session การติดต่อสื่อสารใน IMS โดยจะใช้โปรโตคอล SIP เป็นหลัก
2. User Database
ประกอบด้วย HSS (Home Subseriber Server) และ SLF (Subseriber Location Function) โดย Hss โดยจะเก็บโปรไฟล์ของยูสเซอร์
3. MRF (Media Resource Function)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายเท่านั้น
4. BGCF (Breakout Gateway Control Function)
เป็นส่วนเชื่อมโยงยุคเก่าที่เป็นโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโครงข่ายที่ไม่มี IMS
5. Media Gateway
ทำหน้าที่เป็น Gateway ในการติดต่อ
6. Application Server เป็นส่วนแยกจากส่วน Access โดยมี IMS เป็นตัวแยก