วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

ฮาร์ดดิสเพื่อโลกใหม่

WD Caviar Green สุดยอดเดสทอปพลังงานสีเขียว wn Caviar Green ความจุเทราไบท์สูงสุดในอุตสาหกรรม และเป็นตระกูลล่าสุดของฮาร์ดไดร์ WD Caviar Green ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำงานเงียบกริบไม่ร้อน ใช้พลังงานน้อยกว่าฮาร์ดดิสไดร์ทั่วไปถึง 40 y ความจำแคช 32 MB ฮาร์ดไดร์ 3 ata 3.5 นิ้ว ให้อัตราการส่งข้อมูลอันดับ 3 กิกกะบิตต่อวินาที

นี่คือหนึ่งทางเลือกที่ดีเยี่ยมเพื่อระบบที่ทรงพลังของคุณ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม "The Power of Choice, The Quality of WD"




เอกสารอ้างอิง


ไมโครคอมพิวเตอร์ วารสารเล่มที่ 28 ฉบับที่ 26 กุมภาพันธ์ 2010
ไมโครคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ 29 หน้าที่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

ความท้าทายในปี 2549 เทคโนโลยีความเป็นผู้นำของอินเทล

ปี 2549 เทคโนโลยีมัลติคอร์เริ่มแสดงพลังอย่างแท้จริงในช่วงกลางปี อินเทลได้เปิดตัว อินเทลคอร์ 2 ดุโอ โปรเซสเซอร์ ที่เป็นผู้นำด้านประสิทธิภาพอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง โปรเซสเซอร์รุ่นนี้สามารถใช้ได้กับโน๊ตบุค เดสทอป รวมทั้งเซิฟเวอร์ ซึ่งภายในช่วงกลางเดือน ตุลาคม อินเทลได้จัดส่งโปรเซสเซอร์กว่า 6 ล้านตัว สู่ตลาดอินเทล

คอร์ 2ดุโอ โปรเซสเซอร์ สามารถประหยัดฟลังงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 และมีประสิทธิภาพในการทำงานขึ้นกว่าร้อยละ 40 เมื่อเปรียบเทียบกับโปรเซสเซอร์สมรรณะสูงสุดรุ่นก่อนหน้านี้ และหลังจากนั้น เพียงช่วงเวลาอีก 1 เดือนต่อมา ในเดือน พฤศจิกายน อินเทลได้เริ่มจำหน่าย อินเทล คอร์ 2 คว๊อด คอคอโปรเซสเซอร์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแกนประมวลอยู่ภายในถึง 4 แกน ซึ่งเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำ ด้านเทคโนโลยีของอินเทลให้เป็นที่โดดเด่นและชัดเจนมากยิ่งขึ้น




เอกสารอ้างอิง

บริษัทอินเทคไมโครซอม.ไมโครคอมพิวเตอร์.กรุงเทพฯ : ซี-เอ็ด,2550

IP PBX หัวใจสำคัญของ Unified Communication ในการสื่อสารระหว่างยุคนี้และยุคหน้า

PBX และ IP-PBX

ระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิมนั้นเป็นระบบสื่อสารแบบสลับวงจร (Circuit Switch) ที่เชื่อมต่อกับต้นทางและปลายทางอยู่ตลอดเวลา จนกว่าการสื่อสารแบบสลับแบกเกจ (Packet-Switch) เช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ต ดังนั้น ตู้สาขาสำหรับ UoIP ก็ต้องออกแบบมาเพื่อรองรับโดยเฉพาะ ซึ่งระบบตู้สาขาโทรศัพท์แบบเดิม หรือ PBX ไม่สามารถใช้งานกับ VoIP ได้ เนื่องจากระบบตู้สาขาเดิมรองรับการทำงานแบบสลับวงจร ซึ่งมีการพัฒนาและใช้งานมาก่อนเป็นเวลานาน และไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานแบบสลับแบกเกจที่ใช้ใน VoIP ปัจจุบัน




เอกสารอ้างอิง


ศุวล ชมชัยยา. ไมโครคอมพิมเตอร์.กรุงเทพฯ: ซี-เอ็ด,2553

มหัตภัย Sobig

Sobig เป็นอีเมล์ไวรัสที่สร้างความเสียหายเมื่อเดือนมกราคมช่วงเวลาผ่านมา Sobig กลับมาระบาดอีกครั้งโดยครั้งนี้มีความรุนแรงมากกว่าเดิม ข้อมูลจาก MessageLabs จัดระดับความรุนแรงที่ต้องมีความระมัดระวังสูงเพราะแพร่พันธ์เร็วมาก เวิร์ม w32/Sobig.F-mm ปรากฎตัวครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา จากนั้นกระจายไปที่เดนมาร์ก และนอร์เวย์ รวมทั้งเอเชียแปซิฟิกอย่างรวดเร็ว การคิดวิเคราะห์ครั้งแรกคิดว่า Sobig.F เป็นอีเมล์ไวรัส แต่มีคุณสมบัติเป็น Polymorphic แอดเดรสนี้ซ่อนเร้น ทำให้ไม่สามารถค้นคว้าว่า มาจากที่ใดแน่ เท่าที่พบอีเมล์ถูกส่งมาจากโดเมานเนม ibm.com , 2dnet.com , หรือ microsoft.com โดยใช้ห้าจดหมาย เช่น "Re=Detial" ,"Resume" หรือ "Thank you"


เอกสารอ้างอิง

ไมโครคอมพิวเตอร์.กรุงเทพฯ: ซี-เอ็ด,2546

2XR + MIMO เทคโนโลยีดน็ตเวิร์กไร้สายที่เร็วกว่า

เทคโนโลยี MIMO

MMIMO หรือ Multiple input Multiple output คือเทคโนโลยีสือสารระหว่างอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มอัตราความเร็วและระยะทางในการสื่อสารข้อมูลได้มากขึ้น เป็นการส่งหลายทางพร้อมๆกัน ทำงานด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Orthogonal Frequency Division Multiplexing ( OFDM ) กับการเพิ่มจำนวนและเสาอากาศเข้าไปในตัวอุปกรณ์ หริอให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ดีมากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาของการรับสัญญาณไม่ได้ จากการสะท้อนไปมาของสัญญาณ


เทคโนโลยี 2XR

2XR หรือ Double XR (ซึ่งมาจาก Xtended Range กับ Xccelerated Rates) เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการใช้งานร่วมกันของอุปกรณ์ในรุ่น MIMO ของ D-Link ซึ่งจะกลายเป็นการเสริมประสิทธิภาพเข้าด้วยกันจากเทคโนโลยีของ Wirless G ของ D-Link ที่ใช้อัตราในการส่งข้อมูลสูงถึง 108 Mbps เข้ากับเทคโนโลยี MIMO



เอกสารอ้างอิง
ไมโครคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ซี-เอ็ด, 2546

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

เปิดตำนานเว็บบอร์ด ไดอาร์ไลน์

การถือกำเนิดของ Weblog / Blog

ก่อนที่บล็อกจะได้รับความนิยมการติดต่อสื่อสารในแบบดิจิตอลก็เกิดขึ้นมาหลายแบบ ทั้ง Use net การติดต่อผ่านบริการออนไลน์ เช่น GEnie, Bix และ CompuServe, การส่งอีเมล์ และ bulletin beard system (BBS) ในปี 1990 บนอินเตอร์เน็ตมีการใช้งานซอร์ฟ ในแบบ forum เช่น WebEx เพื่อสร้างการทำงานแบบสนทนา ที่เรียกกันว่าเทรค

Weblog หรือเวบบล็อก (Web logs หรือ Weblogs) เป็นเวบเพจที่มีหน้าที่คล้ายๆกับไดอารี่หรือสมุดบันทึกประจำวันแบบออนไลน์ โดยผู้ใช้งานสามารถเขียนเรื่องต่างๆ เก็บเอาไว้ในเวบบล็อกซึ่งผู้สร้างสามารถจดจำกลุ่มคนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวที่คุณเขียนได้




เอกสารอ้างอิง


ไมโครคอมพิมเตอร์.ซาอิด: /2550.124 หน้า

Twitter: อีกวิวัฒนาการสื่อสารผ่าน Internet

Twitter คืออะไร


เป็นอีกบริการส่งข้อความผ่านเวปไซต์ http://twitter.com เป็นบริการที่รวมเอา Consept ของบริการ Social Networking (แบบ hi5, Facebook) กับการบริการ Micro Blogging (เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog )โดยผู้ใช้สามารถส่งข้อความของตน และอ่านของผู้ใช้อื่นได้ ในรูปแบบของตัวอักษร (Text Base)

บทบาทของ Twitter ในสังคม Internet

Twitter เป็นบริการที่รวมเอา Social Networking และ Micro Blogging เข้าด้วยกัน ทำให้เราเขียนข้อความ (Tweet) ส่งออกไปอาจจะต้องการคนเข้ามาอ่าน หรือไม่ต้องการก็ได้ เช่นเดียวกับ Blog และยังสามารถค้นหาชื่อที่อยู่ผู้ใช้อื่น เพื่อติดตามผู้อื่น (Following) หรือว่าถูกผู้อื่นติดตาม (Follower) ได้ด้วย ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับ Social Networking ซึ่งความสะดวกตรงนี้ทำให้เราไม่ต้องมีการสื่อสารจำนวนมาก เช่น (e-mail, ms, chat)ที่เสียเวลามากกว่าและเข้าไม่ถึงเป้าหมายหรือไม่มาติดต่อด้วย





เอกสารอ้างอิง

เจษฎา นรเดชานนท์. เทเลคอมไดเลาท์,2552

SRAN Security Center ในศูนย์เตือนภัย SOC

พืนฐานของการทำงาน SRAN มีดังนี้


1. ระบบเฝ้าระวังภัยคุกคามและสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายภายในและภายนอก แล้วทำการรายงานผล (Intrusion Detecton / Prevention System)

2. ระบบประเมินความเสี่ยงเพื่อตรวจหาจุดเสี่ยง และรายงานผลแนวทางการแก้ไข (Vulueratity Assessment)

3. ระบบตรวงสอบผลเหตุการณ์ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในเครือข่ายคอมพิมเตอร์ (Network Security Compliance)

SRAN เป็นระบบที่สมบูรณ์เหมาะสมกับการสร้าง SOC แบบพอเพียงขึ้นมา ใช้ประโยชน์ในการทำ SOC

1. ประหยัดงบประมาณในการลงทุนเทคโนโลยีอ

2. การประมวลผลสามารถแสดงผ่าน Web Application จะประหยัดแบบแบนวิดได้มากกว่า

3. ภัยคุกคามจากการเเฝ้ระวังผ่าน Web Monitoring มีน้อยกว่าที่ต้องให้ไฟล์วอร์เปิด Port Syslog หรือ Database

4. สะดวกในการบริการทั้งในแง่การติดตัว และการออกแบบ

5. เป็นเทคโนโลยีที่มามารถควบคุมเองได้ สร้างเป็นต้นแบบ สำหรับใช้งานด้านความมั่นคงของชาติ




เอกสารอ้างอิง


ไมโครคอมพิวเตอร์.ซาอิด:2550,101 หน้า

วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวโน้มการโฆษณาผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์พกพา

รูปแบบการโฆษณา สามารถแบ่งออกได้เป็น 5รูปแบบ ดังนี้


1. รูปแบบการโฆษณาด้วยระบบการเคลื่อนไหวพร้อมเสียง (Video Advertising)

การโฆษณารูปแบบนี้ ส่วนใหญ่มักจะแสดงให้เห็นก่อนที่จะได้รับชมวีดีโอต่างๆ หรือแสดงความเห็นระหว่างชมวีดีโอ ซึ่งผู้ใช้งานอาจจะถูกบังคับดูโฆษณาจนจบ

2. รูปแบบการโฆษณาผ่าน WAP (Wireless Application Protocol Advertising หรือ WAP Advertising)

WAP เป็นโปรโตคอลมาตราฐานบนการทำงานแบบเครือข่ายไร้สายมีความคล้ายคลึงกับมาตราฐาน HTTP

3. รูปแบบโฆษณาด้วยระบบข้อความ (SMS and MMS Advertising)

การโฆษณารูปแบบนี้เป็นการโฆษณาผ่านระบบข้อความอักษรบนโทรศัพท์มือถือ (Shot Message Service: SMS)

4. รูปแบบโฆษณาบนโปรแกรมที่สามารถ Download ได้ (Download Application)

การ Download โปรแกรมกำลังเป็นที่นิยมในการ Download ซึ่งส่งผลให้ระบบโฆษณาผ่านโปรแกรมเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

5. รูปแบบโฆษณาขายตรงผ่านระบบเสียง (Voice)




เอกสารอ้างอิง

ชุติเดช บุญโถสุมภ์.เทเลคอมไดเจท.2552:หน้า 154

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

VoIP(Voice Internet Protocal) การสื่อสารโดยใช้เสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

VoIP หมายถึง เทคโนโลยีที่รวมการสื่อสารเสียง และสัญญาณข้อมูลเอาไว้ด้วยกัน เพื่อส่งสัญญาณทั้งสองไปบนระบบเครือข่ายด้วย IP (Internet Protocal) หรือหมายถึง การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สื่อสารพูดคุยกัน โดยผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ประเภทของ VoIP

รูปแบบที่ 1 จากคอมพิวเตอร์ไปสู่คอมพิวเตอร์ (Pc-to-Pc)วิธีนี้ต้องอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งต้นทางและปลายทาง พร้อมทั้งติดตั้งโปรแกรมตัวเดียวกัน
รูปแบบที่ 2 จากคอมพิวเตอร์ไปสู่โทรศัพท์ (Pc-to-Pnone) เป็นรูปแบบที่ใช้ได้กับผู้ใช้ต้นทางที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมโทรศัพท์ โดยผู้รับปลายทางนั้นใช้เครื่องโทรศัพท์ธรรมดา
รูปแบบที่ 3 จากโทรศัพท์ไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ (Phone-to-Pc) เป็นวิธีที่ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องอาศัยบริการ จากผู้ที่ให้บริการ (Internet Provider) ซึ่งค่าบริการอาจสูงกว่าวิธีอื่นๆ

(SMC Network.2551:70)


เอกสารอ้างอิง
Micro computer.กรุงเทพมหานคร;ซี-เอ็ด,2551

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

IMS(IP Multimedia Subsystem) จุดศูนย์รวมมัลติมิเดียแห่งเครือข่าย

สถาปัตยกรรมของ IMS
สถาปัตยกรรมของ IMS เราจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ

สำหรับระบบ IMS เราสามารถที่จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ก็คือ ส่วนที่เป็น Access Network ซึ่งได้แก่ เครือข่ายที่ยูสเซอร์ใช้งานอยู่ เช่น เครือข่ายที่มีสายโทรศัพท์บ้าน ที่มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน ADSC เครือข่านไร้สายต่างๆ เช่น เครือข่ายไวไฟ และเครือข่ายเคลื่อนที่ในปัจจุบัน อย่างระบบ GSM และระบบ CDMA
ส่วนอีกกลุ่มที่เป็นสถาปัตยกรรมใน IMS ก็คือส่วน Core ของ IMS ซึ่งเป็นส่วนหลักของ IMS และทำหน้าที่ร่วมกันเป็นเครือข่ายหลักในการให้บริการ IP Multimedia ต่างๆ แต่เครือข่ายที่ยูสเซอร์ใช้งานส่วนนี้เราสามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ ดังนี้
1. CSCF (Call / Session Control Function)
2. User Database
3. MRF (Media Resource Function)
4. BGCF (Breakout Gateway Control Function)
5. ชุด Media Gateway
6. ส่วน Application Server

หน้าที่ของส่วนย่อยต่างๆ
1. CSCF (Call / Session Control Function)
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุม Session การติดต่อสื่อสารใน IMS โดยจะใช้โปรโตคอล SIP เป็นหลัก
2. User Database
ประกอบด้วย HSS (Home Subseriber Server) และ SLF (Subseriber Location Function) โดย Hss โดยจะเก็บโปรไฟล์ของยูสเซอร์
3. MRF (Media Resource Function)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายเท่านั้น
4. BGCF (Breakout Gateway Control Function)
เป็นส่วนเชื่อมโยงยุคเก่าที่เป็นโทรศัพท์พื้นฐาน หรือโครงข่ายที่ไม่มี IMS
5. Media Gateway
ทำหน้าที่เป็น Gateway ในการติดต่อ
6. Application Server เป็นส่วนแยกจากส่วน Access โดยมี IMS เป็นตัวแยก

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Dawn of the net

เมื่อเราร้องขอไปยังเว็บเซิฟเวอร์แล้วแบ่งข้อมูลออกเป็นแพกเกจเล็กๆแล้วก็ระบุแอดเดรสไปยังปลายทางผ่านเน็ตเวิร์ก ผ่านเร้าเตอร์และผ่านเร้าเตอร์สวิชต์ แล้วจะมีการตรวจสอบที่ พรอกซี่ เพื่อตรวจ URL ที่ไม่เหมาะสม แล้วแพกเกจจะผ่านออกไปทาง ไฟวอร์ ออกไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แล้วไปยังเซิฟเวอร์ที่ร้องขอแล้วผ่านเข้าไปยังไฟวอร์ของเว็บเซิฟเวอร์ เมื่อเซิฟเวอร์ได้รับแพกเกจก็จะส่งแพกเกจที่ร้องขอกลับไปยังผู้ร้องขอ

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความหมายของ ping ipconfig tracert

•tracert เป็น utility ที่ช่วยให้ค้นหาเส้นทางเดินจาก PC ของคุณไปยัง Address ที่ต้องการ
ซึ่งจะช่วยบอกปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเข้าถึง host ที่ต้องการ เช่น กรณีเมื่อก่อนเคยเข้า
host นี้ได้เร็ว แต่ปัจจุบัน ช้า ก็จะใช้คำสั่งนี้เพื่อดูเส้นทางการเดิน ว่า เส้นทางเดินมีอะไรผิดปกติไหม
หรือว่าเดินหลงทาง
•ping เป็น tool ที่ใช้ในการทดสอบการเชื่อมต่อ ใช้ใน 2 กรณี คือ
(1) ใช้ตรวจสอบว่าเครื่องที่ใช้พร้อมที่จะเชื่อมต่อหรือไม่ คือ ping 127.0.0.1 (= ping localhost)
และ ping [localhost name/localhost ip]
(2) เครื่องที่ใช้สามารถเชื่อมต่อถึงปลายทางได้หรือไม่
โดยคำสั่งนี้จะส่ง packet ออกไปและแสดงเวลาในการตอบรับแต่ละครั้งของจุดปลายทาง
ซึ่งถ้าเวลาที่ใช้ในการโต้ตอบน้อยหมายถึงดี (รวดเร็ว)
•ipconfig (dos) / winipcfg (windows) เป็น utility ที่ใช้ตรวจสอบ
IP Configuration เช่น หมายเลข IP Address , หมายเลข Subnet Mask, Default Gateway
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการแก้ไขปัญหาด้าน network
•arp เป็น utility ที่มีความสามารถในการแก้ไขและแสดง arp cache table
(ARP protocal ใช้ในการ resolve (layer 3) IP address
ให้อยู่ในรูปแบบ (layer2) Ethernet MAC address)
(siamfocus.com.http://www.siamfocus.com/content.php?slide=14&content=37.2553)

ความหมาย topology

โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ (โรงเรียนระยองวิทยาคม.http://www.rayongwit.ac.th/comcen09/network/topology.htm.2553)

ความหมาย potocol

โปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ(ยืน ภู่วรวรรณ.http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/lan_potocal.htm.2553)

โปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้
เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ
แนวคิดด้านสื่อสารข้อมูล (สุพจน์.http://www.212cafe.com/freewebboard/viewcomment.php?aID=3607781&user=nontajit&id=76&page=3&page_limit=50.2553)

โปรโตคอล (Protocol) คือ ระเบียบวิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎระเบียบ และข้อกำหนดต่างๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านการสื่อสารได้สำเร็จ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องเพียงบางโปรโตคอลเท่านั้น
(บริษัท อีซี่โซน จำกัด.http://www.easyzonecorp.net/network/view.php?ID=179.2553)

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของการสื่อสาร
ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล
(ภิรมย์ เกตุขวัญชัย.http://www.ketkwanchai.info/study2.htm.2553)

องค์ประกอบหลักที่สำคัญของการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย
องค์ประกอบของการสื่อสารจะประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ
ผู้ส่ง ( Sender ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็น คน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
ผู้รับ ( Receiver ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็น คน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เป็นต้น
ข้อมูล ( Message ) คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่ต้องการส่ง ซึ่งอาจจะเป็น ตัวหนังสือ ตัวเลข รูป เสียง หรือวิดีโอ ( ทั้งรูปและเสียง ) หรือสิ่งใดก็ตามที่ต้องการส่งหรือรับ
สื่อกลาง ( Medium ) คือ สื่อกลางทางกายภาพที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปสู่ปลายทาง ซึ่งอาจจะเป็นสื่อแบบสาย เช่น สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชี่ยล สายไฟเบอร์ออพติก หรือสื่อแบบไม่มีสาย เช่น คลื่นวิทยุเลเซอร์ เป็นต้น
โพรโตคอล ( Protocol ) เปรียบเทียบได้กับเป็นภาษา ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ ที่ใช้ในการกำหนดวิธีการสื่อสารข้อมูลระหว่างทั้งสองฝั่ง ซึ่งจะกำหนดว่าอุปกรณ์ที่ใช้รับและส่งนั้นจะแปลงข้อมูลอยู่ในรูปแบบใดก่อนที่จะส่งหรือรับ และจะต้องอยู่ในรูปแบบเดียวกันทั้งสองฝั่งด้วยมิฉะนั้นก็จะสื่อสารได้ไม่สำเร็จถ้าหากปราศจากซึ่งโพรโตคอล อุปกรณ์ทั้งสองฝั่งอาจจะติดต่อกันได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ เหมือนกับที่ฝั่งหนึ่งพูดภาษาไทยในขณะที่อีกฝั่งพูดภาษาอังกฤษก็จะไม่สามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง
(เด็กชายธิษณ ศรีสุขวสุ,เด็กชายนิติ สันติกุล และ เด็กชายธรรศกรณ์ อู่วุฒิพงศ์.http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/33/san.html.2553)

ความหมายของ เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html.2553)

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้
(ไพรัตน์ เครือชัยสุ.http://www.bcoms.net/temp/lesson6.asp.2553)

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป
เข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่น ๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้
(โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง.http://www.acr.ac.th/acr/CAI/cai_pim/Unit_121.htm.2553)

สรุปคือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ส่งรับข้อมูลแก่กัน

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications)
หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน (โรงเรียนจักรคำคณาทร.http://www.chakkham.ac.th/technology/network/datacommu.html.2553)

การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฏเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ (ไพรัตน์ เครือชัยสุ.http://www.bcoms.net/temp/lesson6.asp.2553)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึงการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่อง(หรือ สองระบบ) ขึ้นไป โดยเป็นการรบส่งข้อมูลผ่านระบบสายหรือระบบไร้สายก็ได้ แต่ข้อมูลที่รับส่งกันนั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบรหัสดิจิตอล หรือสามารถแปลเป็นรูปแบบรหัสดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ฝ่ายรับข้อมูลสามารถนำข้อมูลนั้นไปประมวลผลต่อได้
(wongmek.http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12964.html.2553)

สรุปคือ การสื่อสารข้อมูล คือการโอนถ่ายข้อมูลข้อมูลระหว่างผู้ส่งไปยังผู้รับผู้รับโดยมีสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล