วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Dawn of the net

เมื่อเราร้องขอไปยังเว็บเซิฟเวอร์แล้วแบ่งข้อมูลออกเป็นแพกเกจเล็กๆแล้วก็ระบุแอดเดรสไปยังปลายทางผ่านเน็ตเวิร์ก ผ่านเร้าเตอร์และผ่านเร้าเตอร์สวิชต์ แล้วจะมีการตรวจสอบที่ พรอกซี่ เพื่อตรวจ URL ที่ไม่เหมาะสม แล้วแพกเกจจะผ่านออกไปทาง ไฟวอร์ ออกไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แล้วไปยังเซิฟเวอร์ที่ร้องขอแล้วผ่านเข้าไปยังไฟวอร์ของเว็บเซิฟเวอร์ เมื่อเซิฟเวอร์ได้รับแพกเกจก็จะส่งแพกเกจที่ร้องขอกลับไปยังผู้ร้องขอ

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ความหมายของ ping ipconfig tracert

•tracert เป็น utility ที่ช่วยให้ค้นหาเส้นทางเดินจาก PC ของคุณไปยัง Address ที่ต้องการ
ซึ่งจะช่วยบอกปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเข้าถึง host ที่ต้องการ เช่น กรณีเมื่อก่อนเคยเข้า
host นี้ได้เร็ว แต่ปัจจุบัน ช้า ก็จะใช้คำสั่งนี้เพื่อดูเส้นทางการเดิน ว่า เส้นทางเดินมีอะไรผิดปกติไหม
หรือว่าเดินหลงทาง
•ping เป็น tool ที่ใช้ในการทดสอบการเชื่อมต่อ ใช้ใน 2 กรณี คือ
(1) ใช้ตรวจสอบว่าเครื่องที่ใช้พร้อมที่จะเชื่อมต่อหรือไม่ คือ ping 127.0.0.1 (= ping localhost)
และ ping [localhost name/localhost ip]
(2) เครื่องที่ใช้สามารถเชื่อมต่อถึงปลายทางได้หรือไม่
โดยคำสั่งนี้จะส่ง packet ออกไปและแสดงเวลาในการตอบรับแต่ละครั้งของจุดปลายทาง
ซึ่งถ้าเวลาที่ใช้ในการโต้ตอบน้อยหมายถึงดี (รวดเร็ว)
•ipconfig (dos) / winipcfg (windows) เป็น utility ที่ใช้ตรวจสอบ
IP Configuration เช่น หมายเลข IP Address , หมายเลข Subnet Mask, Default Gateway
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการแก้ไขปัญหาด้าน network
•arp เป็น utility ที่มีความสามารถในการแก้ไขและแสดง arp cache table
(ARP protocal ใช้ในการ resolve (layer 3) IP address
ให้อยู่ในรูปแบบ (layer2) Ethernet MAC address)
(siamfocus.com.http://www.siamfocus.com/content.php?slide=14&content=37.2553)

ความหมาย topology

โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ (โรงเรียนระยองวิทยาคม.http://www.rayongwit.ac.th/comcen09/network/topology.htm.2553)

ความหมาย potocol

โปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ(ยืน ภู่วรวรรณ.http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/lan_potocal.htm.2553)

โปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้
เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ
แนวคิดด้านสื่อสารข้อมูล (สุพจน์.http://www.212cafe.com/freewebboard/viewcomment.php?aID=3607781&user=nontajit&id=76&page=3&page_limit=50.2553)

โปรโตคอล (Protocol) คือ ระเบียบวิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎระเบียบ และข้อกำหนดต่างๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านการสื่อสารได้สำเร็จ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องเพียงบางโปรโตคอลเท่านั้น
(บริษัท อีซี่โซน จำกัด.http://www.easyzonecorp.net/network/view.php?ID=179.2553)

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของการสื่อสาร
ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล
(ภิรมย์ เกตุขวัญชัย.http://www.ketkwanchai.info/study2.htm.2553)

องค์ประกอบหลักที่สำคัญของการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่าย
องค์ประกอบของการสื่อสารจะประกอบด้วย 5 ส่วนหลัก คือ
ผู้ส่ง ( Sender ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็น คน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
ผู้รับ ( Receiver ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็น คน คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เป็นต้น
ข้อมูล ( Message ) คือ ข้อมูลหรือข่าวสารที่ต้องการส่ง ซึ่งอาจจะเป็น ตัวหนังสือ ตัวเลข รูป เสียง หรือวิดีโอ ( ทั้งรูปและเสียง ) หรือสิ่งใดก็ตามที่ต้องการส่งหรือรับ
สื่อกลาง ( Medium ) คือ สื่อกลางทางกายภาพที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปสู่ปลายทาง ซึ่งอาจจะเป็นสื่อแบบสาย เช่น สายคู่ตีเกลียว สายโคแอกเชี่ยล สายไฟเบอร์ออพติก หรือสื่อแบบไม่มีสาย เช่น คลื่นวิทยุเลเซอร์ เป็นต้น
โพรโตคอล ( Protocol ) เปรียบเทียบได้กับเป็นภาษา ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ ที่ใช้ในการกำหนดวิธีการสื่อสารข้อมูลระหว่างทั้งสองฝั่ง ซึ่งจะกำหนดว่าอุปกรณ์ที่ใช้รับและส่งนั้นจะแปลงข้อมูลอยู่ในรูปแบบใดก่อนที่จะส่งหรือรับ และจะต้องอยู่ในรูปแบบเดียวกันทั้งสองฝั่งด้วยมิฉะนั้นก็จะสื่อสารได้ไม่สำเร็จถ้าหากปราศจากซึ่งโพรโตคอล อุปกรณ์ทั้งสองฝั่งอาจจะติดต่อกันได้ แต่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ เหมือนกับที่ฝั่งหนึ่งพูดภาษาไทยในขณะที่อีกฝั่งพูดภาษาอังกฤษก็จะไม่สามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง
(เด็กชายธิษณ ศรีสุขวสุ,เด็กชายนิติ สันติกุล และ เด็กชายธรรศกรณ์ อู่วุฒิพงศ์.http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/33/san.html.2553)

ความหมายของ เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น (ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html.2553)

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้
(ไพรัตน์ เครือชัยสุ.http://www.bcoms.net/temp/lesson6.asp.2553)

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป
เข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่น ๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้
(โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง.http://www.acr.ac.th/acr/CAI/cai_pim/Unit_121.htm.2553)

สรุปคือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไปที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ส่งรับข้อมูลแก่กัน

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications)
หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน (โรงเรียนจักรคำคณาทร.http://www.chakkham.ac.th/technology/network/datacommu.html.2553)

การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฏเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ (ไพรัตน์ เครือชัยสุ.http://www.bcoms.net/temp/lesson6.asp.2553)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) หมายถึงการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่อง(หรือ สองระบบ) ขึ้นไป โดยเป็นการรบส่งข้อมูลผ่านระบบสายหรือระบบไร้สายก็ได้ แต่ข้อมูลที่รับส่งกันนั้นจะต้องอยู่ในรูปแบบรหัสดิจิตอล หรือสามารถแปลเป็นรูปแบบรหัสดิจิตอล เพื่อให้คอมพิวเตอร์ฝ่ายรับข้อมูลสามารถนำข้อมูลนั้นไปประมวลผลต่อได้
(wongmek.http://www.school.net.th/library/create-web/10000/generality/10000-12964.html.2553)

สรุปคือ การสื่อสารข้อมูล คือการโอนถ่ายข้อมูลข้อมูลระหว่างผู้ส่งไปยังผู้รับผู้รับโดยมีสื่อกลางในการรับส่งข้อมูล